กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การปกป้องคุ้มครองเด็ก

เพราะเรื่องสิทธิและการปกป้องคุ้มครองเด็กเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยเฉพาะเจ้าที่ อาสาสมัคร และคนทำงานด้านเด็กยิ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจ การใส่ใจดูแลเด็กให้ได้รับสิทธิและการปกป้องคุ้มครอง

การสำรวจและแบ่งปันมุมมอง ค่านิยม และความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับการละเมิดเด็ก

แบ่งปันมุมมอง ค่านิยม และความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับการละเมิดเด็กให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หนุนเสริม เพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป

.

เรียนรู้ความหมายของการปกป้องคุ้มครองเด็ก

การปกป้องคุ้มครองเด็ก คือการปกป้อง ดูแลให้เด็กปลอดภัยจากความรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและปลอดภัย  

โดยสิทธิเด็กขั้นพื้นฐานของเด็กมี 4 ประเภท ดังนี้

1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival)
คือ สิทธิในการอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่เกิด ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเกิดมาปกติหรือมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ เด็กมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอด

2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
คือ สิทธิที่จะได้รับการสนับสนุนด้านการเรียนตามมาตรฐาน มีความเป็นอยู่และโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย  และมีการส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection)
คือ สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิด และการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)
คือ สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำ รวมถึงการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง เช่น การเลืกเสื้อผ้า, การเลือกตั้ง ฯ

นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐานสากลแล้ว การปกป้องคุ้มครองเด็กในองค์กรก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

  1. เจ้าหน้าที่ต้องไม่เรียกร้องความสนใจจากเด็กในฐานอื่น ต้องวางตัวเป็นกลาง พึงระมัดระวัง ทัศคติ การใช้คำพูด ความสัมพันธ์ที่มีต่อเด็ก ไม่ทำให้เด็กอับอาย เสียศักดิ์ศรี หรือลดคุณค่าของเด็ก
  2. เจ้าหน้าที่ห้ามสัมผัสเด็กด้วยท่าทีที่ไม่เหมาะสม ยกเว้นการช่วยเหลือในกรณีที่จำเป็น ห้ามอยู่กับเด็กตามลำพัง และห้ามมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็ก
  3. การเผยแพร่ข้อมูลเด็ก รูปภาพ หรือวิดีโอ ต้องได้รับการยินยอมที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปครองและเด็กก่อน

การรายงานกรณีที่สงสัยหรือเกิดการล่วงละเมิดเด็ก

เพราะการล่วงระเมิดเด็กอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ดังนั้นแต่ละองค์กรจำเป็นที่ต้องเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอนการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีความโปร่งใส มีการปฏิบัติงานอย่างจริงจังและตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา เพื่อเจ้าหน้าที่และบุคคลอื่น สามารถพูดคุยเรื่องประเด็นการล่วงละเมิดต่อเด็กได้ และมั่นใจได้ว่าปัญหาทุกอย่างจะถูกจัดการอย่างเหมาะสม

Leave a Comment

Your email address will not be published.