การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เเละระดมความคิดเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก ๆ ในแต่ละพื้นที่
ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก องค์กรที่รับผิดชอบต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานโครงการของตนจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก นั่นคือ ไม่ปล่อยให้เด็กเสี่ยงต่อการถูกทำร้าย ถูกละเมิด และหากมีข้อกังวลใด ๆ ขององค์กรที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กในชุมชนที่พวกเขาทำงานจะถูกรายงานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ข้อดีของการใช้มาตรฐาน Keeping Children Safe คือ เด็กได้รับการปกป้อง เจ้าหน้าที่องค์กรและผู้ร่วมงานได้รับการปกป้อง และองค์กรและชื่อเสียงได้รับการปกป้อง
เรียนรู้และลองออกแบบแผนการเรียนการสอน Active Learning โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสื่อความหมาย เก็บใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ก้อนหิน มาถอดความหมายสื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามความเข้าใจของตนเอง แบ่งปันให้กับคนอื่น ๆ และอธิบายเสริมด้วยวิทยากร จากนั้นลองออกแบบเขียนแผนการสอนตั้งแต่ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง/ประเด็นที่จะสอน
จุดประสงค์ กระบวนการสอน (ขั้นนำ-ขั้นสอน-ขั้นสรุป) สื่อในการเรียนการสอน ใบความรู้ ชิ้นงาน การประเมิน และบันทึกการสอน เพื่อให้เป็นแนวทางการเขียนแผนการสอนและนำไปปรับใช้ในโรงเรียนของตนเอง
หลังจากออกแบบแผนการเรียนรู้ Active Learning ได้เวลาของการลงมือเรียนรู้จริงกับเกมการเรียนรู้ “พืชผัก ชาติพันธุ์” และ “นวัตกรรมการปกป้องไข่” ให้ครูได้เรียนรู้จากการลงมือทำ การทำงานกลุ่ม ฝึกกระบวนการคิด และเห็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เกมกับเนื้อหาวิชาเรียนอื่น ๆ ได้
“ค้อน กรรไกร กระดาษ” “hammer,scissors, paper” “เป่ายิงฉุบ” ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุปความรู้และสิ่งที่ได้รับด้วยการ “สรุปความรู้มาเป่ายิงฉุบ”
ต้นไม้แห่งความคาดหวัง
ก่อนเริ่มกิจกรรมเรามักจะมีความคาดหวังของผู้เข้าร่วมต่าง ๆ มากมาย เช่น อยากได้สื่อเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม อยากได้ประสบการณ์เกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองเด็ก อยากเรียนรู้ภาษา ฯลฯ
หลังจบกิจกรรมแล้วได้แต่หวังว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับตามคาดหวังไว้บ้าง ไม่มากก็น้อย